วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ลำไย


ชื่อวิทยาศาตร์
                        Euphoria longana Lam , Dimocarpus longan
ชื่อภาษาอังกฤษ
                        ลองแกน (Longan)
วงศ์
                        Sapindaceae

ประวัติ
           ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ. 1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน

           ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ในประเทศไทย ทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก "ลำไยกะลา" ในสมัยรัชการลที่ 5 มีชาวจีนนำพันธู์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จำนวน 5 ต้น เป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3 ต้น ที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2 ต้น หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปีพ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ. 2457จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ. 2511ก็พัฒนามาร่วม60ปีและถ้านับถึงปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม90ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง157,220ไร่
          ลำไยจัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สามารถปลูกได้ในพื้นที่มีความสูง 300 ถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล  จำนวนโครโมโซมของลำไย 2n = 30

ลักษณะของลำไย

  • ลำต้น ลำไยมีลำต้นสูงขนาดกลางจนถึงใหญ่ ต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีต้นตรง มีความสูงประมาณ 30–40 ฟุต แต่ต้นที่ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งมักแตกกิ่งก้าน สาขาใกล้ ๆ กับพื้น เปลือกลำต้นขรุขระมีสีน้ำตาลหรือสีเทา  

  • ใบ ลักษณะของใบลำไยเป็นใบรวมประกอบด้วยใบย่อยอยู่บนก้านใบร่วมกัน (pinnately compound leaves) มีปลายใบเป็นคู่ มีใบย่อย 2-5 คู่ ความยาวใบ 20-30 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงตัวสลับหรือเกือบตรงข้าม ความกว้างของใบย่อย 3-6 เซนติเมตร ยาว 7-15 เซนติเมตร รูปร่างใบเป็นรูปรีหรือรูปหอก ส่วนปลายใบและฐานใบค่อนข้างป้านใบด้านบนมีสีเขียวเข้มกว่าด้านล่าง ผิวด้านบนเรียบ ส่วนผิวด้านล่างสากเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย และเห็นเส้นแขนง (vein) แตกออกจากเส้นกลางใบชัดเจน และมีจำนวนมาก 
  • ช่อดอก ลำไยออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกเป็นแบบ compound dichasia ที่มีการจัดเรียงดอกแบบที่มีก้านดอกยาวกว่าก้านอื่นๆ หรือมีก้านดอกจัดเรียงแบบ panicle ช่อดอกลำไยส่วนมากจะเกิดจากตาที่ปลายยอด (terminal bud) จึงมักพบช่อดอกตรงปลายกิ่ง บางครั้งอาจเกิดจากตาข้างของกิ่ง ความยาวของช่อดอกประมาณ 15-30 เซนติเมตร มีลักษณะอวบแข็งและอ่อนนุ่ม ช่อดอกขนาดกลางมีดอกย่อยประมาณ 3,000 ดอก 
  • ดอก ดอกลำไยมีสีขาวหรือสีขาวออกเหลืองมีขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ช่อดอกหนึ่งๆ อาจมีดอก 3 ชนิด (polygamo-monoecious) คือดอกตัวผู้ (staminate flower) ดอกตัวเมีย (pistillate flower) และดอกสมบูรณ์เพศ
  • ผล มีลักษณะกลมหรือทรงเบี้ยว เปลือกผลมีสีเขียวปนสีน้ำตาล เขียวปนเหลืองหรือน้ำตาลแดง แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ เปลือกลำไยเมื่อยังไม่แก่เต็มที่จะมีผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อแก่จัดเปลือกมีผิวค่อนข้างเรียบ ลักษณะผลจะพองโต 
  • เมล็ด มีลักษณะกลมจนถึงแบน เมื่อยังไม่แก่มีสีขาวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีดำมัน ส่วนของเมล็ดที่ติดกับขั้ว มีวงกลมสีขาวๆ บนเมล็ด (placenta) มีลักษณะคล้ายตามังกร (dragon’s eye) จุกสีขาวมีขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างกันไปตามพันธุ์ 
พันธุ์ลำไย
              ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง 26 พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง 12 สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15 สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี 1 สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ 5 พวก คือ
  • ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์คือ
    • สีชมพู ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพูเรื่อๆ รสดีมากที่สุด
    • ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง
    • เบี้ยวเขียว หรืออีเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ เนื้อล่อน
    • อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดงกับอีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว
    • อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คืออีแดงเปลือกหนา มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่ กับอีแดงเปลือกบาง ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
    • อีดำ ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
  • ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ 13.75% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา
  • ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
  • ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
  • ลำไยเถาหรือลำไยเครือ เป็นไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก ผลเล็กและเมล็ดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดบาง นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขา
  • ลำไยขาว ผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว เนื้อสีขาวใส เมล็ดลีบ รสหวาน
ประโยชน์ของลำไย

               เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-40 ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ เนื้อลำไยกินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย วุ้นลำไย ลำไยลอยแก้ว น้ำลำไย หรือแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋อง ตากแห้ งสามารถทำเป็นชาชงดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร แต่ถ้กินลำไยมากเกินไปจะเกิดอาการร้อนใน แผลในปาก หรือตาแฉะได้

คุณค่าทางอาหารของลำไย

          กองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนปรักอบของลำไยปรากฏผลว่า
  1. ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ81.1%คาร์โบไฮเดรต16.98%โปรตีน0.97%เถ้า0.56%กาก0.28%และไขมัน 0.11%
  2. ในลำไยสด100กรัมจะมีค่าความร้อน72.8แคลอรีและมีวิตามิน69.2มิลลิกรัมแคลเซียม57มิลลิกรัมฟอสฟอรัส35.17มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก0.35มิลลิกรัม
  3. ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 69.06%น้ำ 21.27%โปรตีน 4.61%เถ้า 3.33%กาก 1.50%และไขมัน 0.171%
  4. ลำไยแห้ง 100กรัมจะมีค่าความร้อน 296.1แคลอรี แคลเซียม 32.05มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150.5มิลลิกรัมโซเดียม 4.78มิลลิกรัม เหล็ก 2.85มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1390.3มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค 0.72มิลลิกรัมวิตามินบี 12จำนวน 1.08มิลลิกรัม
              ในเมล็ดลำไยมีปริมาณโปรตีนรวม 6.5% ปริมาณไขมันรวม1.94% และปริมาณเยื่อใยรวมเป็น 8.33% ค่าพลังงานที่ใช้ประยชน์ได้จริงเป็น 3,365 kcal/kg สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ได้ ในเปลือกหุ้มเมล็ดของลำไยมีปริมาณแทนนินสูง

อ้างอิง :
http://th.wikipedia.org/wiki/
https://sites.google.com/site/laayi123/lay

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น